สุวิมล โรจนาวี, อรวรรณ ฆ้องต้อ, สุนิดา ปรีชาวงษ์, จินตนา ยูนิพันธุ์, นัยนา วงศ์สายตา, และจิรภิญญา คำรัตน์. (2559).วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ 39 (1); 37-47.
บทคัดย่อ
การวิจัยแบบสหสัมพันธ์เชิงทำนายนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายการเลิกบุหรี่ในผู้ใช้บริการเลิกบุหรี่ของศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากผู้ใช้บริการของศูนย์ฯ ตั้งแต่ 1กุมภาพันธ์ ถึง 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 โดยใช้การสุ่มอย่างง่ายด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 194 ราย เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ตั้งแต่เดือนสิงหาคม ถึง พฤศจิกายน พ.ศ. 2557วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบไคสแควร์ และการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก ผลการวิจัย พบว่า ตัวแปรที่สามารถทำนายการหยุดสูบบุหรี่ต่อเนื่อง 6 เดือน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ ความมั่นใจในการเลิกบุหรี่ (OR = 1.52, 95% CI = 1.21-1.92) จำนวนครั้งในการโทรติดตาม (OR =1.40, 95% CI = 1.10-1.76) และคุณภาพชีวิตด้านจิตใจ (OR = 0.30, 95% CI = 0.14-0.65) การส่งเสริมให้เกิดความมั่นใจในการเลิกบุหรี่และมีการโทรศัพท์ติดตามเป็นระยะ จะช่วยให้ผู้สูบบุหรี่สามารถเลิกบุหรี่ได้อย่างต่อเนื่อง
คำสำคัญ: ปัจจัยทำนาย การเลิกบุหรี่ ศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ