เลิกสูบบุหรี่ลดการลุกลามของมะเร็งไต

1429348823893.jpgมะเร็งไตพบมากในผู้ที่สูบบุหรี่จัด และอาจลุกลามอย่างรวดเร็ว จากการศึกษาพบการลุกลามของมะเร็งไตในผู้ป่วยมากกว่า 1 ใน 4 รายที่ยังคงสูบบุหรี่หลังได้รับการผ่าตัดรักษา แต่พบการลุกลามในผู้ป่วยเพียง 1 ใน 5 รายที่เลิกสูบบุหรี่ ทั้งนี้ ประมาณ 70% ของผู้ป่วยที่พบเนื้องอกในไตในระยะเริ่มแรกจะมีชีวิตอยู่ได้อย่างน้อย 5 ปี ในกรณีที่มะเร็งได้แพร่กระจายออกไปแล้ว โอกาสที่ผู้ป่วยจะมีชีวิตอยู่ได้ในระยะเวลาดังกล่าวลดลงเหลือเพียง 8% ตัวเลขจากการวิจัยยังระบุอีกว่า ชาวอเมริกัน 1 ใน 70 คน เป็นผู้สูงอายุ และมักป่วยเป็นมะเร็งไต

ในด้านบวก การค้นพบดังกล่าวยังแสดงว่า ก้อนมะเร็งในผู้สูบบุหรี่ที่เลิกสูบจะมีขนาดเล็กกว่า และมีการลุกลามของโรคน้อยกว่า แม้ว่าการวิจัยจะไม่ได้รับการออกแบบเพื่อพิสูจน์ว่าการเลิกสูบบุหรี่สามารถลดอัตราการโตของก้อนเนื้องอกได้ แต่นักวิจัยเห็นว่าทั้งสองเรื่องมีความสัมพันธ์กัน เมื่อพิจารณาข้อมูลของผู้ป่วยจำนวน 845 รายที่เข้ารับการผ่าตัดเพื่อรักษามะเร็งไต และพบว่ามีการลุกลามของโรคไปยังอวัยวะส่วนอื่นในผู้ป่วยจำนวน 1 ใน 4 ราย ทั้งนี้ พบการลุกลามของมะเร็งในกลุ่มผู้ที่สูบบุหรี่สูงกว่าผู้ที่ไม่สูบถึง 60% ยิ่งผู้ป่วยสูบบุหรี่เป็นปริมาณมากเท่าไหร่ ความเป็นไปได้ที่โรคจะลุกลามก็ยิ่งมีมากเท่านั้น ทำนองเดียวกัน ผู้ที่เคยสูบบุหรี่ก็มีความเสี่ยงที่โรคจะลุกลามสูง แต่จะลดลงประมาณ 9 % ทุก 10 ปีหลังจากเลิกสูบบุหรี่ นักวิจัยชี้ว่าการสูบบุหรี่ไม่เพียงเพิ่มความเสี่ยงที่ก้อนเนื้องอกจะก่อตัวขึ้น แต่ยังเร่งอัตราการโตของก้อนเนื้อด้วย โดยทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง
 

 

1429348934415.jpgอย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งไตในฟลอริดามีความเห็นว่า การเกิดมะเร็งไตและการลุกลามของโรคในผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มอาจไม่ได้ต่างกันด้วยเหตุผลทางชีววิทยาของก้อนเนื้องอก แต่ด้วยเหตุผลที่ว่าผู้สูบบุหรี่มักให้ความสำคัญและปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับปัญหาด้านสุขภาพน้อยกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ จึงทำให้แพทย์ไม่สามารถวินิจฉัยและให้การรักษาได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก

ถึงกระนั้นก็ตาม นักวิจัยยังคงเน้นว่ามีความสอดคล้องของสิ่งที่ค้นพบกับข้อมูลก่อนหน้านี้ที่ยืนยันว่าผู้สูบบุหรี่มีความเสี่ยงเป็นสองเท่าที่จะป่วยด้วยโรคมะเร็งไต นอกเหนือจากปัญหาสุขภาพอื่นๆ การให้ข้อมูลที่ชัดเจนต่อสาธารณชนว่าการสูบบุหรี่ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตนับร้อยนับพันในอเมริกาทุกปีเป็นเรื่องจำเป็น ทุกฝ่ายยังต้องพยายามอย่างที่สุดในการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ รวมทั้งป้องกันเด็กและวัยรุ่นไม่ให้สูบบุหรี่ตั้งแต่แรก

ที่มา: Smokers who quit have less aggressive kidney
Reuters, April 19, 2011

หมวดหมู่บทความ
เรื่องล่าสุด
 
 
ศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ
อาคารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ชั้น 6-7 เลขที่ 21/12 ถนนรางน้ำ แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
โทรศัพท์ : 02-298-0144 โทรสาร : 02-298-0143
อีเมล : quitline1600@thailandquitline.or.th, quitline1600@hotmail.com web site: www.thailandquitline.or.th