ในช่วงนี้มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ไปทั่วโลก
ขณะเดียวกันมีรายงานวิชาการระบุว่า การสูบบุหรี่น่าจะเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้ผู้ติดเชื้อไวรัส COVID-19 มีอาการแย่ลงและเสียชีวิตในที่สุด ผู้สูบบุหรี่นับได้ว่ามีโอกาสเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัส COVID-19 เนื่องจากการสูบบุหรี่ หมายความว่า นิ้วมือและบุหรี่ (ซึ่งอาจมีเชื้อไวรัสติดอยู่) สัมผัสกับริมฝีปาก จึงเพิ่มความเป็นไปได้ในการแพร่เชื้อไวรัสจากมือสู่ปาก ในผู้สูบบุหรี่บางคนอาจมีโรคประจำตัวอยู่ อาทิ โรคถุงลมโป่งพอง ก็จะเพิ่มความเสี่ยงของการเจ็บป่วยที่รุนแรงขึ้น เมื่อเร็วๆ นี้ มีการสังเคราะห์งานวิจัย เพื่อศึกษาว่าการสูบบุหรี่มีความสัมพันธ์กับผลสุดท้ายกับการติดเชื้อไวรัส COVID-19 หรือไม่ ซึ่งมีรายงานว่า หากติดเชื้อไวรัส COVID-19 ผู้สูบบุหรี่มีแนวโน้มที่จะมีอาการรุนแรงมากกว่าผู้ไม่สูบ 1.4 เท่า และมีโอกาสที่จะต้องเข้ารักษาใน ICU หรือเสียชีวิต มากกว่าผู้ติดเชื้อที่ไม่ได้สูบบุหรี่ 2.4 เท่า นับว่า การติดเชื้อไวรัส COVID-19 อาจเป็นภัยคุกคามที่ร้ายแรงมาก การเลิกบุหรี่จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคและความรุนแรงของโรคโควิดได้
Smoking, to date, has been assumed to be possibly associated with adverse disease prognosis, as extensive evidence has highlighted the negative impact of tobacco use on lung health and its causal association with a plethora of respiratory diseases. Smoking is also detrimental to the immune system and its responsiveness to infections, making smokers more vulnerable to infectious diseases. It is reported that smokers were 1.4 times more likely to have severe symptoms of COVID-19 and approximately 2.4 times more likely
to be admitted to an ICU, need mechanical ventilation or die compared to non-smokers.
กลุ่มการวิจัยเพื่อการควบคุมยาสูบ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Reference: Vardavas, C. I., Nikitara, K. (2020). COVID-19 and smoking: A systematic review of the evidence. Tobacco Induced Diseases, 18(March), 20. https://doi.org/10.18332/tid/119324