ผลลัพธ์ที่กลับกลายจากคลินิกเพื่อการเลิกสูบบุหรี่

 ดร.ไซมอน เชปแมน นักวิทยาศาสตร์ผู้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลกในกิจกรรมต่อต้านการสูบบุหรี่พบว่ากลยุทธ์ที่ประเทศอินเดียใช้ในการช่วยให้ประชาชนเลิกสูบบุหรี่กลับให้ผลลัพธ์ในทางตรงกันข้าม คลินิกเพื่อการเลิกสูบบุหรี่ที่ต้องใช้เงินจำนวนมากในการจัดตั้งไม่ได้มีส่วนช่วยให้ผู้คนเลิกสูบบุหรี่ได้ แท้จริงแล้วควรนำเงินจำนวนดังกล่าวไปใช้ในการรณรงค์เพื่อให้ความรู้กับประชาชนถึงผลร้ายของบุหรี่ที่มีต่อสุขภาพจะดีกว่า การวิจัยของ ดร.แชปแมนรายงานถึงความล้มเหลวของคลินิก ในการเลิกสูบบุหรี่ โดยระบุว่ามีผู้สูบบุหรี่เพียงร้อยละ 3 ที่โทรศัพท์มาขอรับการปรึกษากับสายด่วนเลิกบุหรี่หรือเข้าร่วมกิจกรรมของหน่วยงานเพื่อการเลิกสูบบุหรี่ ในขณะที่ผู้สูบบุหรี่อีกร้อยละ 97 สามารถเลิกสูบบุหรี่ได้ด้วยตนเองหลังจากที่ได้รับรู้ผลร้ายของบุหรี่ที่มีต่อสุขภาพ

1429337242985.gif    การทำความเข้าใจและให้ความรู้กับสาธารณชนเป็นวิธีการที่ส่งผลให้คนเลิกสูบบุหรี่ได้ดีกว่า กิจกรรมที่จัดทำผ่านหน่วยงานเพื่อการเลิกสูบบุหรี่ซึ่งสามารถช่วยลดการสูบบุหรี่ได้ แต่ค่อนข้างใช้เวลานาน ทั้งนี้ คลินิกเพื่อการเลิกสูบบุหรี่เริ่มจัดตั้งขึ้นในประเทศอินเดียในปี ค.ศ. 2002 นับเป็นการดำเนินการในเรื่องนี้อย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก คลีนิคจำนวน 13 แห่งนั้นให้การดูแลเกี่ยวกับ การรักษาเนื้องอก โรคหัวใจ จิตเวช การผ่าตัด และเริ่มมีการจัดตั้งองค์กร NGO ขึ้นด้วย หลังจากนั้น จำนวนคลินิกได้เพิ่มขึ้นเป็น 19 แห่ง ในรัฐ 17 รัฐ มีการพัฒนาการบำบัดรักษาให้กับผู้สูบบุหรี่และผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ยาสูบไร้ควัน แผนงานห้าปีในการควบคุมการสูบบุหรี่แห่งชาติระบุให้จัดตั้งคลินิกเพิ่มขึ้นอีกใน 450 ตำบลทั่วประเทศ การศึกษาของดร แชปแมน เปิดเผยว่าการเลิกสูบบุหรี่ไม่ได้แตกต่างจากการเลิกสิ่งเสพติดประเภทอื่น อาทิ การดื่มสุรา การใช้สารเสพติด และการพนัน การวิจัยในกลุ่มประชาชนชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่าผู้สูบบุหรี่ส่วนใหญ่เลิกสูบบุหรี่ได้โดยไม่ต้องการความช่วยเหลือในรูปแบบใดทั้งสิ้น งานวิจัยชิ้นอื่นที่ทำในประเทศสหรัฐอเมริกาล้วนแสดงผลลัพธ์ในทิศทางเดียวกัน ทุกวันนี้ การเลิกสูบบุหรี่ด้วยตนเองโดยไม่ขอรับความช่วยเหลือยังคงเป็นวิธีการที่ได้ผลมากกว่าการบำบัดโดยใช้สารนิโคตินทดแทน

     พลเมืองราว 250 ล้านคนในประเทศอินเดียเป็นผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ยาสูบ อาทิ บุหรี่เคี้ยว หรือ Bidis ประชาชนร้อยละ 16 สูบบุหรี่ อีกร้อยละ 44 สูบ Bidis และกลุ่มที่เหลือใช้บุหรี่เคี้ยว ผู้สูบบุหรี่เพศชายมีจำนวนสูงกว่าเพศหญิงถึงสองเท่า การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งซึ่งมีผู้ป่วยสูงถึงร้อยละ 40 จากจำนวนผู้ป่วยทั้งหมดในประเทศ

     แม้การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการเลิกสูบบุหรี่ในประเทศอินเดียยังไม่ดีนัก แต่ผู้เชี่ยวชาญประเมินว่า ร้อยละ 90 ของผู้สูบบุหรี่ในประเทศอินเดียที่เลิกบุหรี่โดยได้รับความช่วยเหลือจากคลินิกได้กลับมาสูบอีกภายในปีแรก แต่หากสามารถเลิกสูบได้ด้วยตนเอง ระยะห่างของการเลิกสูบจะนานกว่า กิจกรรมของคลินิกเพื่อการเลิกสูบบุหรี่เสมือนเป็นการประกาศว่าผู้สูบบุหรี่เป็นผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ และไม่สามารถจะเลิกสูบได้ด้วยตนเอง ซึ่งบั่นทอนความมั่นใจของผู้สูบบุหรี่ในการเลิกสูบเป็นอย่างยิ่ง

ที่มา: The Time of India, 7 ตุลาคม 2553

หมวดหมู่บทความ
เรื่องล่าสุด
 
 
ศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ
อาคารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ชั้น 6-7 เลขที่ 21/12 ถนนรางน้ำ แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
โทรศัพท์ : 02-298-0144 โทรสาร : 02-298-0143
อีเมล : quitline1600@thailandquitline.or.th, quitline1600@hotmail.com web site: www.thailandquitline.or.th