สูบบุหรี่มือสอง

     คุณไม่สูบุหรี่แต่คุณก็มีสิทธิ์เป็นโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่หากคุณอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่คนสูบบุหรี่เราเรียกคนที่ได้รับบุหรี่ โดยที่ไม่ได้สูบว่า"สูบบุหรี่มือสอง" ที่มาของควันบุหรี่มาได้ 2 ทางคือ - ควันที่เกิดจากการเผาบุหรี่หรือซิการ์ - ควันซึ่งเกิดจากหายใจออกของผุ้ที่สูบบุหรี่ เมื่อควันบุหรี่ถูกสูบเข้าไปและถูกหายใจออกมา ควันที่ออกมายังมีสารก่อมะเร็งเท่ากับควันที่ก่อนจะถูกสูด แทบไม่น่าเชื่อควันบุหรี่ที่เห็นเป็นควันสีขาวจะมีสารเคมีอยู่ 4000 ชนิดในจำนวนนี้กว่า 60 ชนิดเป็นสารที่ก่อให้เกิดมะเร็ง ผู้ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สูบบุหรี่มากและได้ควันบุหรี่มาก จะมีโอกาสเกิดโรคมากด้วย การสูบบุหรี่นั้นนอกจากจะมีผลต่อผู้สูบโดยตรงแล้วยังทำให้ผู้อื่นในบรรยากาศของควันบุหรี่สูดเอาพิษจากควันบุหรี่เข้าไปด้วย ทำให้เกิดอันตรายเช่นเดียวกับผู้สูบบุหรี่ ซึ่งผลกระทบของบุหรี่ที่มีต่อคนข้างเคียงพอสรุปได้ดังนี้

1429348027120.jpg     1.เด็ก การสูบบุหรี่ของคนในครอบครัวทำให้เด็กป่วยด้วยโรคหลอดลมอักเสบ ปอดบวม หอบหืด หูชั้นกลางอักเสบเพิ่มขึ้น และมีสมรรถภาพปอดแย่กว่าเด็กที่พ่อแม่ไม่สูบบุหรี่ 
     2.หญิงมีครรภ์ หญิงมีครรภ์สูบบุหรี่จะทำให้น้ำหนักตัวขณะตั้งครรภ์เพิ่มน้อยกว่าปกติ และมีโอกาสแท้ง คลอดก่อนกำหนด ตกเลือดระหว่างคลอดและหลังคลอดมากเป็น2เท่าของหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่สูบบุหรี่ นอกจากนั้นยังเกิดภาวะรกเกาะต่ำและรกรอกตัวก่อนกำหนดมากขึ้นลูกที่คลอดจากแม่ที่สูบบุหร ี่อาจจะมีน้ำหนักและความยาวน้อยกว่าปกติ พัฒนาการทางสมองช้ากว่าปกติ อาจจะมีความผิดปกติทางระบบประสาท ระบบความจำ 
     3.คู่สมรสของผู้สูบบุหรี่ มีโอกาสเป็นมะเร็งปอดมากกว่าคู่สมรสที่ไม่สูบบุหรี่ 2 เท่า มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจ 3 เท่า และเสียชีวิตเร็วกว่าปกติถึง 4 ปี 
     4.คนทั่วไป คนทั่วไปที่ต้องอยู่ในบรรยากาศที่ผู้อื่นสูบบุหรี่ ควันบุหรี่จะทำให้เคืองตา ปวดศีรษะ คัดจมูก น้ำมูกไหล โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการหอบหืด โรคหัวใจ โรคหลอดลมอักเสบ ก็จะทำให้อาการของโรคเพิ่มมากขึ้น 
     5.สูบบุหรี่มือสองทำให้เกิดมะเร็งปอด 
     6.การแยกที่สำหรับผู้สูบบุหรี่และไม่สูบบุหรี่สามารถลดปริมาณควันได้แต่ก็ได้รับควัน 
     7.การที่เด็กที่เสียชีวิตในขวบปีแรกก็มีความสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ของพ่อแม่ 
     8.สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่นหอบหืด หลอดลมอักเสบหากได้ควันบุหรี่ก็อาจจะทำให้อาการกำเริบ

 

วิธีป้องกันสูบบุหรี่มือสองที่บ้าน

     • ให้สมาชิกที่สูบบุหรี่ให้ไปสูบบุหรี่นอกบ้านโดยปรึกษากันถึงผลเสียที่จะเกิดกับเด็ก 
     • ถ้าผู้สูบไม่ยอมออกนอกบ้านให้หาห้องที่ถ่ายเทอากาศดีให้เขาสูบ 
     • ให้เปิดหน้าต่างเพื่อให้อากาศถ่ายเท 
     • สนับสนุนให้เลิกบุหรี่ 
     • ถ้าแขกที่มาเยี่ยมสูบบุหรี่บอกเขาว่าบ้านนี้ปลอดบุหรี่ และอย่ามีจานเขี่ยบุหรี่ไว้ในบ้าน


1429348093530.jpgวิธีป้องกันสูบบุหรี่มือสองที่ทำงาน


     • ให้นายจ้างประกาศนโยบายสถานที่ปลอดบุหรี่ 
     • ให้จัดที่ทำงานสำหรับผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ และให้ห่างไกลจากผู้ที่สูบบุหรี่ 
     • บอกผู้ที่สูบบุหรี่ให้ไปสูบไกลๆคุณ 
     • ใช้พัดลมหรือเปิดหน้าต่างเพื่อให้อากาศถ่ายเท 
     • ติดป้าย"ขอบคุณที่กรุณาไม่สูบบุหรี่"ไว้ที่ทำงาน

 

วิธีป้องกันสูบบุหรี่มือสองในที่สาธารณะ

     • เลือกสถานที่ปลอดบุหรี่ เช่นโรงแรม ร้านอาหาร หรือรถเช่าที่ปลอดบุหรี่
     • หากมีผู้ที่สูบบุหรี่ในสถานที่ห้ามสูบให้แจ้งเจ้าหน้าให้จัดการ
     • ไม่พาเด็กไปในที่ๆมีการสูบบุหรี่

 

 

หมวดหมู่บทความ
เรื่องล่าสุด
 
 
ศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ
อาคารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ชั้น 6-7 เลขที่ 21/12 ถนนรางน้ำ แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
โทรศัพท์ : 02-298-0144 โทรสาร : 02-298-0143
อีเมล : quitline1600@thailandquitline.or.th, quitline1600@hotmail.com web site: www.thailandquitline.or.th